เวลา / Time
สวัสดีค่ะ... วันนี้แวะมาเล่าเรื่องของ "เวลา" เน๊าะ ก็เหมือนเคย มีเวบให้ไปฝึกฟัง ทำแบบฝึกหัดง่ายๆ สนุกๆ และก็มีตัวอย่างการใช้ และคำถามที่จำเป็นๆ มาฝากกัน ก็เริ่มกันด้วยพื้นฐานง่ายๆ ก่อน ถ้าแม่นตรงนี้แล้วก็สบายแล้วล่ะค่ะ เอาไปใช้หากินได้ตลอดแหละ
ในภาษสวีเดน "เวลา" คือคำว่า "tid" (ทีด) ... ก็มาเริ่มฝึกอ่านเวลากันก่อนเลยค่ะ
เวลา
05.00
05.01
05.02
05.05
05.10
05.15
05.20
05.21
05.29
05.30
05.31
05.35
05.40
05.45
05.50
05.55
05.59 |
Swedish (Svenska )
fem
en (minut) över fem
två (minuter) över fem
fem (minuter) över fem
tio (minuter) över fem
(en) kvart över fem / femton (minuter) över fem
tjugo (minuter) över fem
nio i halv sex / tjugoett (minuter) över fem
en (minut) i halv sex / tjugonio (minuter) över fem
halv sex / fem och trettio
en (minut) över halv sex
fem (minuter) över halv sex
tjugo i sex
(en) kvart i sex
tio i sex
fem i sex
en (minut) i sex |
คำอ่าน
เฟม
เอียน (มินูท) เออเวอ ร เฟม
โทว (มินูทเตอ ร) เออเวอ ร เฟม
เฟม (มินูทเตอ ร) เออเวอ ร เฟม
ที่ยุ (มินูทเตอ ร) เออเวอ ร เฟม
(เอียน) คว้าท เออเวอร เฟม / เฟมตอน (มินูทเตอ ร) เออเวอร เฟม
ชู่โกะ (มินูทเตอ ร) เออเวอร เฟม
นี่ยุ อี ฮาล์ฟ เซ็ค ซ / ชู่โกะ เอ็ท (มินูทเตอ ร) เออเวอ ร เฟม
เอียน (มินูท) อี ฮาล์ฟ เซ็ค ซ / ชู่โกะ นี่ยุ (มินูทเตอ ร) เออเวอ ร เฟม
ฮาล์ฟ เซ็ค ซ / เฟม อค เทร็ตตี้
เอียน (มินูท) เออเวอ ร ฮาล์ฟ เซ็ค ซ
เฟม (มินูทเตอ ร) เออเวอ ร ฮาล์ฟ เซค ซ
ชู่โกะ อี เซ็ค ซ
(เอียน) คว้าท อี เซ็ค ซ
ที่ยุ อี เซ็ค ซ
เฟม อี เซ็ค ซ
เอียน (มินูท) อี เซ็ค ซ |
หมายเหตุ... ตัวที่อยู่ในวงเล็บจะพูดหรือไม่ก็ได้ค่ะ ส่วนใหญ่เค้ามักละกันไว้ในฐานที่เข้าใจกันค่ะ
ตาม ไปฟังเสียงตัวอย่างชัดๆ พร้อมภาพประกอบแจ่มๆ ...คลิกที่นี่เลยค่ะ (เข้าไปแล้วคลิกที่คำว่า "tid" แล้วก็คลิกบนภาพหรือคำศัพท์เพื่อฟังเสียงนะคะ)
อันนี้ก็แจ่มค่ะ ตามไปฟังกัน ..คลิกโล้ด ๆ ...
แบบทดสอบ 1 /
แบบทดสอบ 2
Natur & Kultur >>> Mål >>> เข้าเวบแล้วหาทำแบบฝึกหัดใน Kapitel 2: Vad är klockan? (s. 36)
เพิ่มเติม Natur & Kultur>>> Framåt A Textbok 1 >>> ทำแบบฝึกหัดใน Sidan 14 และ Sidan 20 – Vad är klockan?
หมายเหตุ ...ตัวอักษรบางตัวที่ล่องลอยอยู่ในคำอ่านนั่น เช่น เอียน เออเวอ ร ฮาล์ฟ เซค ซ เป็นต้นเนี่ย ก็จะออกเสียง "ร" ประมาณว่า "หรึ" เบาๆ พอเป็นกระสัยค่ะ ตัว "ซ" ก็ "ซึ" ...เอาเป็นว่าเจออะไรลอยอยู่ก็ใส่ สระอึ แล้วออกเสียงเบาๆ ไปเลยค่ะ จะได้ดูเหมือนเป็นเจ้าของภาษา (ซานต้าว่ามางั้น) เหอๆ ปกติแล้วคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษบ้านเรา เค้ามักใส่ ตัวการันต์ บนตัวที่เกินมา ซึ่งเราก็เก่งภาษาไทยกันดีซะด้วย พอเจอตัวพยัญชนะที่มีการันต์ก็จาไม่ออกเสียง ภาษาอังกฤษเราก็เดี้ยงๆ ไปไงค่ะ ฝาหรั่งมังค่าฟังแล้วเงง
...อ่อ มีอีกอย่าง ขอย้ำว่า คำไหนมี "R = ร" หรือ "L = ล" เป็นตัวควบกล้ำเนี่ย ก็พยายามออกเสียงให้ชัดเจนนะคะ ก็เหมือนการออกเสียงตัวควบกล้ำของไทยเรานั่นแหละค่ะ สำคัญๆ ... อันนี้ซานต้าบอกมาอีกนั่นล่ะ ...
อ่านตอนต่อไปได้ที่นี่ค่ะ >>> เวลา 2 / Time 2
22 มกราคม 2553
|