Yui in Lund

Work experiences in Sweden - ประสบการณ์ทำงานในสวีเดน

เรื่องเล่าประสบการณ์ทำงานจากหลากหลายสาขาอาชีพ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ

<< Back


อยากทำงาน อยากหาเงินด้วยตัวเอง

สวัสดีคะชื่อ สุทัตตา ย้ายมาอยู่สวีเดน 27 ตุลาคม 2550 มาถึงก็กำลังหนาวพอดี และไม่รู้ว่าชีวิตจะเริ่มจากจุดไหน ไม่รู้้จักใครเลยนอกจากสามี ภาษาอังกฤษ เรียกได้ว่าป่วย หรือพิการ และไม่เคยรู้เรื่องว่ามาแล้วต้องไปเรียนอีกภาษา ทั้งๆ ที่ภาษาไทยก็ยังตกแล้วตกอีก แล้วอากาศที่นี้ก็เงียบเหงา แสงแดดก็น้อยลง น้อยลง คือถ้าอยู่แบบไม่มีไรทำ หรือถ้าคิดมากเป็นพิเศษ ก็อาจจะเครียดถึงขนาดไม่สบาย หรือเป็นโรคซึมเศร้าได้

หลังจากสองเดือนผ่านไปทางโรงเรียนก็มีจดหมายเรียกให้ไปเรียนที่ Folkuniversitetet ใกล้ๆ Turning Turso, Malmö วันแรกที่ไปลงทะเบียน รู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษ เพราะต้องออกไปสู่โลกภายนอกลำพัง (555) อย่างที่บอก อังกฤษก็ไม่กระดิก เลยทำให้เครียดเป็นพิเศษ เรียนวันแรก ก็งงๆ อาทิตย์ผ่านไปก็ยัง งง ๆ จนสองเดือนผ่านไปถึงจะจับเรื่องจับราวได้ว่ามันเป็นยังไง เรียนไปได้สักระยะ ก็เริ่มรู้จักเพื่อน มีเพื่อนคนไทยหนึ่งคนในห้อง และหลากหลายชาติปะปนกัน

โดยนิสัยส่วนตัวเป็นคนไม่อยู่นิ่ง อยากทำโน้นทำนี่ อยากลองหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง อยากทำงาน อยากหาเงินด้วยตัวเอง แต่ด้วยภาษาที่ยังไปไม่ถึงไหน ก็ทำให้ตัวเองท้อ จนวันหนึ่งเพื่อนในห้องบอกว่า เราสามารถหางานทำได้โดยไปลงทะเบียนไว้ที่่สำนักงานจัดหางาน Arbetsförmedlingen ... การติดต่อเริ่มต้นด้วยดี และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เขาสอบถามเราว่าอยากทำงานอะไร? เราก็บอกไปว่าเคยทำงานด้านคอมพิวเตอร์ แต่ภาษาเรายังไม่ได้ทั้งอังกฤษและสวีดีช ทีนี้เขาไม่ช่วยหางานออฟฟิตให้ เขาหาให้ได้เฉพาะงานทั่ว ๆ ไป เช่น ร้านอาหาร งานโรงงาน

"มาถึงจุดนี้ สิ่งที่คิดก็คือ ให้ฉันทำอะไร ฉันก็ทำ แต่ขอให้เป็นงานสุจริต ไม่ไปทำร้ายใครและ ไม่เดือดร้อนใคร"


การติดต่อกับ Arbetsförmedlingen เป็นไปด้วยดี จนกระทั่งเรียน SFI จบ ทางสำนักงานก็ส่งไปเรียนหลักสูตรเพื่อหางานโดยเฉพาะ เป็นระยะเวลาสามเดือน ทั้งหางานไปด้วยและเรียนรู้วิธีการเขียนจดหมายสมัครงาน

วันหนึ่งเจ้าหน้าที่ที่ปรีกษาแจ้งว่า จะมีบริษัทซึ่งจะเปิดรับพนักงานจำนวนมาก เพื่อรองรับศูนย์การค้าที่จะเปิดใหม่ในเมืองนี้ ชื่อ Entré ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากบ้าน 5 นาที (ปั่นจักรยาน) งานที่จะรับเป็นงานร้านอาหาร เขาต้องการกุ๊ก คนเสิร์ฟ ร้านอาหารประกอบด้วย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น อาหารอินเดีย อาหารไทย อาหารอิตาเลียน อาหารสวีดีช และร้านกาแฟ เราก็ว่าเราต้องทำได้ และบอกเจ้าหน้าที่ว่าฉันสนใจ และนี่คือ จุดเปลี่ยนของชีวิต เป็นครั้งแรกที่ได้สัมภาษณ์งาน และการสัมภาษณ์ทั้งหมด สามครั้ง และบทสรุปคือ ได้งานทำ


Bilden från Sydsvenskan.se

"Jag är väldigt nöjd och det här jobbet är en bra start. Det har varit svårt att få jobb och jag kan inte längre ens räkna till hur många jobb jag har sökt utan att få"

: Unga hittade entrén till nya jobb - från Sydsvenskan.se


การได้งานมาจากการเอาใจใส่ในการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และการหางานไปด้วยทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เจ้าหน้าที่เขาเห็นว่าเรากระตือรือร้นที่อยากจะทำงาน และอีกอย่างคือ การรู้จักคนในบริษัท หรือองค์กร อาจจะทำให้เราได้งานเป็นอีกส่วนหนึ่ง และคิดว่าสำคัญ การแสดงออกว่าเราทำได้ และอีกอย่าง ภาษาในการสื่อสาร

วันแรกที่เริ่มงาน 19 มีนาคม 2552 รู้สึกภูมิใจมากที่เราได้งานทำในโครงการ nystartjobb ของ Arbetsförmedlingen บอกไม่ถูกว่าทำไมภูมิใจ แต่ถ้าทุกคนได้มาอยู่ตรงจุดนี้จะเข้าใจว่ามันเป็นยังไง

งานที่ทำก็คิดว่า พี่น้องคนไทยทุกคนคงทำได้เหมือนกัน เพราะเราก็ไม่เคยทำมาเลย ที่ร้านที่ทำเป็นร้านอาหารที่อยู่ในศูนย์การค้า เป็นลักษณะของร้านที่คนซื้อต้องบริการตัวเอง

งานที่ทำก็เริ่มจากในครัว ล้างผัก หั่นผัก จัดเตรียมหน้าร้าน และงานหน้าร้าน ก็มีรับรายการอาหาร เก็บเงินและจัดเตรียมอาหาร หรือสั่งให้กุ๊กทำอาหารที่ต้องการ จากนั้นกดปุ่มเพื่อเรียกให้ให้ลูกค้ามารับอาหาร หลังจากถึงเวลาเมื่อต้องทำการปิดร้าน ก็ทำการคำนวณรายรับและปิดยอดขาย เก็บภาชนะเข้าเครื่องล้างจาน และเก็บเข้าที่เพื่อเตรียมการสำหรับวันพรุ่งนี้

"อุปสรรคของการทำงานอาจจะเป็นที่แต่ละคนที่ทำงานร่วมกันมาจากหลากหลายชาติ พูดภาษาไม่เหมือนกัน และสื่อสารไม่ตรงกัน และเกิดการเข้าใจผิด"


เกิดการเคืองกันทั้งๆ ที่เข้าใจกันคนละแบบ และการสื่อสารกับลูกค้าที่พูดภาษาสวีดีชและอังกฤษ หรือบางคนพูดภาษาเดนนิช และบางครั้งเจอคนที่พูดไม่ได้ทั้งอังกฤษและสวีดีช ตัวเนื้องานหลัก ๆ มันไม่ได้มีอุปสรครกับเราเลย และคนไทยเราอดทนสู้งาน เจ้านายที่ไหนก็อยากได้ แต่สิ่งที่เราขาด คือ ภาษา การสื่อสาร ทำยังไงเราถึงจะขายอาหารสักจานได้ ถ้าเราไม่สามารถสื่อสารกับคนที่จะซื้ออาหาร

รายได้ของงานร้านอาหารตอนนนั้นค่าจ้างแรงงานอยู่ที่ 101 โครนต่อชั่วโมง วันหยุดที่เป็นสีแดง และวันอาทิตย์ได้โอทีชั่วโมงละ 18 โครน รายได้ของเราไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับชั่วโมงที่ได้ในแต่ละเดือน อาทิตย์หนึ่งจะตกอยู่ที่ 40 ชั่วโมง หรือมากน้อยแล้วแต่เพื่อนร่วมงานป่วย หรืองานไม่มี เช่น ไม่มีคนมากินอาหาร บางทีเจ้านายก็ไล่ให้กลับบ้าน บางเดือนหลังหักภาษีก็ได้ประมาณ 16000 โครน บางเดือนงานน้อย หรือขี้เกียจ เป็นส่วนใหญ่ ก็ได้น้อย หลังหักภาษีก็ประมาณ 12000-13000 โครน

หลังจากทำงานที่ร้านอาหารมาเป็นระยะเวลาหนึ่งปีกว่า งานการคล่องแคล่วและไม่มีอะไรติดขัด อาจจะมีปัญหาเล็กๆ น้อย กับใจเรามันไม่ได้คิดว่าเราอยากจะอยู่ตรงนี้ หรือทำงานนี้ไปตลอด และปัญหาของเพื่อนร่วมงานต่างภาษาก็ยังคงมีเรื่อยๆ บ่อยครั้ง และเกิดความเครียดในระหว่างการทำงานนั้น...

"ก็เกิดความคิดกับตัวเองว่า ภาษานี่มันสำคัญนะ และคิดไปเรื่อยๆ ว่าทำยังไงเราถึงจะพูดและฟังรู้เรื่อง เข้าใจคนชาตินี้ได้มากกว่าที่เราเป็นอยู่ ณ จุดนี้จึงตัดสินใจ ไปเรียนภาคเช้าที่คอมวุกซ์เพื่อพัฒนาตัวเองไปในตัว"


และเพื่อนร่วมงานที่ร้านอาหารแนะนำให้ไปฝึกงานที่โรงแรม จากนั้นก็ได้งานพิเศษทำที่โรงแรม เป็นพนักงานเสริฟอาหารเช้า และที่นั้นได้พบและคุยภาษาสวีดีช
.
.
.

มาแรก ๆ ใจก็อยากทำงาน อยากหาประสบการณ์ แต่ว่าพอได้งานจริงๆ ทำๆ ไป มันอาจจะไม่ใช่ในสิ่งที่เราอยากทำ แต่เงินเดือนก็อยากได้ นี่หละคือปัญหาของเรา

"หลังจากค้นหาตัวเองมาสักระยะ จนหนึ่งปีและหกเดือน ของการทำงานก็จบลงกับการตัดสินใจลาออก เพื่อไปเรียนต่อ เพื่อหาตัวตนที่ตัวเองอยากเป็น และเพื่อการพัฒนาภาษาสวีดีช"


ขอให้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับเพื่อนคนไทย เพื่อให้มีกำลังใจในการดำรงชีวิตอยู่ในต่างแดน

 

ในยามที่เราท้อ ขอแค่ให้คิดถึงคนที่รอคอยความหวัง
บางทีอาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้เรามีพลังในการต่อสู้
กับอากาศเหน็บหนาวภายนอก สวมเสื้อผ้าเข้าไปสักพักมันก็อุ่น
ความพยายามมันจะบอกเราว่า ความสำเร็จมันอยู่ที่ไหน
สักวันเราจะไปให้ถึงจุดที่เราฝันไว้
ขอแค่อย่าลดความฝัน และความพยายาม

 

นัท
ร่วมแบ่งปันเรื่องราวไว้เมื่อ พฤศจิกายน 2553

 

 

 

โครงการ nystartjobb ของ Arbetsförmedlingen

 

Är du ny i Sverige?

Du får jobb - arbetsgivaren får ekonomisk hjälp
Var det högst tre år sedan som du fick uppehållstillstånd? Har du varit borta från arbetslivet länge på grund av arbetslöshet eller att du varit sjuk? Då får den arbetsgivare som anställer dig ekonomiskt stöd, så kallat nystartsjobb. Stödet innebär att den arbetsgivare som anställer dig får ekonomisk hjälp som motsvarar dubbel arbetsgivaravgift (i max tre år). Arbetsgivaren får normalt stödet lika länge som du varit arbetslös och för tillsvidare-, prov- eller visstidsanställning. (Från www.arbetsformedlingen.se)

 

Det här är nystartsjobb - Information för dig som är arbetssökande (.pdf)

 

 

 

 

<< Back

Go to top
© 2010 All rights reserved. Yui in Lund@Sweden. Thai Experiences : Diary : Swedish : Photos : Hot info : Links : Guest book
eXTReMe Tracker