Yui in Lund

Work experiences in Sweden - ประสบการณ์ทำงานในสวีเดน

เรื่องเล่าประสบการณ์ทำงานจากหลากหลายสาขาอาชีพ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ

<< Back


11 กลวิธีในการหางานทำ

สวัสดีค่ะ ตอนไปรายงานตัวที่อารเบียตฯ ก็ไปเจอหนังสือแจกฟรีของอารเบียตเล่มนึงเขียนแนะนำเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการหางาน ในนั้นก็มีเรื่อง "11 กลวิธีในการหางานทำ" (เป็นภาษาสวีเดน) อ่านแล้วก็ อืม ดี เลยเอามาแปลเล่นๆ เล่าสู่กันฟังค่ะ เผื่อเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับทุกๆ ท่านที่กำลังหางานอยู่ ขอออกตัวก่อนนะคะว่า ขอแปลตามสไตล์ตัวเองนะคะ เพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายและคงเนื้อหาเดิมไว้ให้มากที่สุด ในตอนท้ายๆ ของแต่ละเทคนิคยุ้ยก็จะแทรกข้อเสนอแนะและประสบการณ์ตรงของตัวเองให้ด้วยค่ะ ไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง

 

 

11 กลวิธีในการหางานทำ
การหางานทำเนี่ยสามารถทำได้หลายวิธีการด้วยกัน วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การผสมผสานหลากหลายวิธีเข้าด้วยกัน มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง...


1. ใช้บริการของสำนักงานจัดหางาน (Arbetsförmedlingen)

หน่วยงานนี้จะให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการหางานทำ และทางหน่วยงานมีการพบปะกับผู้ว่าจ้าง รวมทั้งมีการจัดให้มีการนัดพบปะกันระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้หางาน เพื่อสรรหาคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน หาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้ที่เวบไซต์ http://www.arbetsformedlingen.se หรือในเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/Arbetsformedlingen หรือโทรไปสอบถามพูดคุยได้ที่ 0771-416 416

(ยุ้ย ... บริการที่น่าสนใจคือ ให้คำปรึกษาเรื่องซีวี จดหมายแนะนำตัว ช่วยเราค้นหาตำแหน่งงานที่เราสนใจ แต่ว่าเราต้องไปสมัครงานบนเวบของอารเบียตฯ เอง และก็ยังมีก็อีกหลายๆ กิจกรรมที่น่าสนใจ ถ้าเราแอคทีพไปร่วมกิจกรรมที่เหมาะกับเรา เราก็จะได้ประโยชน์เองนั่นล่ะ)


2. สอบถามหรือบอกกล่าวกับคนที่เรารู้จัก

ก็บอกกับทุกๆ คนที่เรารู้จัก เช่น ครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน เพื่อนที่โรงเรียน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนที่แชทด้วย เพื่อนในชมรมหรือสมาคม แม้กระทั่งเพื่อนในเฟสบุ๊ค หรือโซเชี่ยลมีเดียทั้งหลายว่า เรากำลังหางานทำอยู่ … เกือบครึ่งนึงของตำแหน่งงานต่างๆ ได้คนไปทำงานโดยไม่ผ่านการประกาศรับสมัครงานใดๆ แต่ได้คนมาทำงานนั้นโดยผ่านคนรู้จักกัน (ถามหรือบอกต่อๆ กันไปในกลุ่มคนที่รู้จักกัน) …. ลองถามคนที่รู้จักกันดูนะ ไม่แน่ว่าเพื่อนของเพื่อน หรือใครสักคนที่เรารู้จักที่บริษัทที่เค้าทำงานอยู่ต้องการคนเข้าไปทำงานในตำแหน่งงานที่เราสนใจอยู่

(ยุ้ย … จริงค่ะ ยุ้ยได้งานสอนภาษาไทยให้คนสวีเดน (extrajobb) เพราะเพื่อนแนะนำเข้าไปยังเจ้านายของเค้า แล้วก็ได้คุยกัน แล้วก็ได้งานทำเลย)


3. ติดต่อผู้ว่าจ้างงานโดยตรง
โทรศัพท์ ส่งอีเมล์ หรือเดินเข้าไปในบริษัทห้างร้านต่างๆ เพื่อถามผู้ว่าจ้างที่เราอยากทำงานด้วยว่า มีตำแหน่งงานว่างมั๊ย? มีเปิดรับสมัครงานตำแหน่งไหนบ้าง? แล้วเราจะส่งจดหมายสมัครงานเข้าไปได้หรือป่าว? หรือว่า ถามขอว่าจะเข้ามาคุยด้วย มาพรีเซ้นต์ตัวเองกับผู้ว่าจ้างหรือบริษัท …. ไม่แน่ว่าอาจจะมีตำแหน่งว่างอยู่และเค้าก็ยังไม่ทันได้ประกาศรับสมัครออกไป

(ยุ้ย... เพื่อนเคยทำค่ะ เดินเข้าไปในร้านอาหาร ร้านเบเกอรี่ ของานทำ พอดีเค้าคิดอยากจ้างคนพอดี ก็ได้ทำเลย โชคดีมากๆ)


4. ก่อตั้งสโมสรหรือกลุ่มคนหางานทำ

รวมกลุ่มกับคนที่มีความสนใจคล้ายๆ กันแล้วก็ช่วยกันหางาน สมาชิกในกลุ่มที่ตั้งขึ้นก็สามารถได้ประโยชน์จากคนที่รู้จักกันกับสมาชิกภายในกลุ่มนั้นอีก (สร้างเครือข่ายคนรู้จักกันให้ใหญ่ขึ้น) สมาชิกในกลุ่มแชร์ไอเดียและช่วยเหลือกันในการหางาน เช่น ช่วยกันโทรหาบริษัทผู้ว่าจ้างต่างๆ ซึ่งก็จะทำใช้เวลาในการโทรที่สั้นลง …. การตั้งกลุ่มในลักษณะนี้ทำให้การหางานมีประสิทธิภาพอย่างมาก … ถ้ายังไม่มีกลุ่ม ก็ลองตั้งกลุ่มเองดูนะ

(ยุ้ย ... อันนี้ก็เช่นห้อง Jobb för alla på Facebook ค่ะ ช่วยกันคนละไม้ละมือค่ะ มีเพื่อนร่วมทาง มีอะไรก็แวะมาบอกมาแนะนำกัน และได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน)


5. หาดูประกาศรับสมัครงานจากหลายๆ แหล่ง

ประกาศรับสมัครงานมีอยู่ในหลากหลายรูปแบบ เช่น บนเวบไซต์ของสำนักงานจัดหางาน (อารเบียตฯ) ในหนังสือพิม์รายวัน ในนิตยสารประกาศรับสมัครงาน บนเวบไซต์ต่างๆ หรือวารสารต่างๆ ในห้องสมุดก็จะมีประกาศรับสมัครงานในสาขานั้นๆ

ในหนังสือพิมพ์รายวันมักจะรวบรวมประกาศรับสมัครงานมาลงในบางวัน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นทุกวันพฤหัสฯ และวันอาทิตย์

สำหรับในเวบไซต์ของสำนักงานจัดหางานนี้ก็จะมีประกาศรับสมัครงานทั้งในและนอกประเทศสวีเดน เราก็สามารถเลือกหาและสมัครงานที่สนใจเองได้บนเวบไซต์ และนอกจากนี้ก็สามารถตั้งค่ารับข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับตำแหน่งงานที่เราสนใจแล้วให้ส่งมายังอีเมล์ของเราได้ด้วย … หาดูงานได้ที่ http://www.arbetsformedlingen.se/platsbanken

(ยุ้ย ... ควรลงทะเบียนไว้ที่เวบของอารเบียตฯ เพราะจากประสบการณ์เวบของอารเบียตฯ มีงานเยอะมากๆ แทบจะรวมงานจากทุกๆ เวบที่มีประกาศรับสมัครงานมาไว้ที่นี่ทั้งหมดน่ะ ค้นหางานง่าย เวบใช้ง่ายด้วย)


6. ใช้บริการสำนักงานจัดหางานเอกชน (privata arbetsförmedlingar)
ก็จะมีบริการของบริษัทจัดหางานหรือจัดจ้างงานเอกชน (manpower, bemanningsföretag, rekryteringsföretag) ที่ช่วยหางานให้ผู้ว่างงานหรือต้องการหางานทำ และช่วยบริษัทต่างๆ หาคนงานที่เหมาะสมให้ บริษัทเหล่านี้ก็จะประกาศหาคน คัดเลือกและทำการสัมภาษณ์ให้กับบริษัทต่างๆ เหล่านั้น บางทีบริษัทจัดหางานก็จะจ้างคนนั้นๆ เอง แต่ก็ส่งออกไปทำงานกับบริษัทอื่นๆ ที่ต้องการคน เช่น บริษัทไอที ร้านอาหาร ร้านขายของ เป็นต้น ก็จะมีการทำสัญญากันว่า ทำงานอะไร นานเท่าไหร่กับบริษัทไหน ได้ค่าตอบแทนยังไง

(ยุ้ย... สำหรับตัวเองแล้วก็ไปฝากซีวีฝากประวัติไว้กับสำนักงานจัดหางานเอกชนไว้เพียบค่ะ ฝากไว้ในระบบเค้าก่อน พอเค้ามีงานเหมาะกับเราเค้าก็จะส่งเมล์มาให้ ถ้าเราสนใจก็สมัครไป … เคยได้งานซัมเมอร์จากสำนักงานจัดหางานเอกชนมาครั้งนึงค่ะ)


7. หางานผ่านสมาคมการค้า (branschorganisationer)
branschorganisationer นี้จะเป็นสมาคมของบริษัทต่างๆ ที่มีกิจการคล้ายๆ กัน และก็ดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ของกลุ่มกิจการ ซึ่งสมาคมการค้าต่างๆ เค้าก็จะมีเวบไซต์ และเฟสบุ๊ค หรือไม่ก็วารสาร หนังสือพิมพ์สมาคม … ก็ไปหาลิ้งค์ของบริษัทต่างๆ ที่เราสนใจจากที่เหล่านี้ได้ หรือหาอ่านคำแนะนำและข้อมูลข่าวสารของบริษัทพวกนี้ไว้เพื่อจะได้หาหนทางเตรียมตัวที่จะทำให้ได้งานทำต่อไป

(ยุ้ย … อันนี้ไม่เคยทำ ยุ้ยได้แต่เข้าไปในเวบของหน่วยงานรัฐและบริษัทต่างๆ ที่รู้จัก ในเวบเค้าก็จะมี lediga jobb, career, jobba hos oss ไรราวๆ นี้ คลิกเข้าไปดูว่าเค้ามีตำแหน่งว่างไรบ้าง และก็ลงทะเบียนกับเวบเค้า แล้วสมัครผ่านทางเวบเค้าโดยตรง ข้อดีอีกอย่างคือ ประวัติเราจะอยู่ในฐานข้อมูลของบริษัทนั้นๆ โดยตรง ถึงแม้เราไม่ได้งานตอนนี้ ต่อไปถ้าเค้าต้องการคน เค้าก็จะหาดูในฐานข้อมูลเค้าก่อน ถ้าเหมาะกับเรา เราอาจได้เปรียบคนอื่นค่ะ บางบริษัทเค้าก็เปิดให้ส่งใบสมัครไปได้แม้ว่ายังไม่มีตำแหน่งงานว่างอะไร ฝากไว้เผื่อในอนาคตไรงี้ ... บางที่ก็ให้ส่งเมล์ไปสมัครงาน)


8. ลงเรียนในหลักสูตรสำหรับสาขาวิชาชีพนั้นๆ โดยตรง
ก็จะมีหลักสูตรสั้้นๆ หลายๆ หลักสูตรที่เปิดสอนเกี่ยวกับวิชาชีพนั้นๆ โดยตรง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นตำแหน่งที่เป็นที่ต้องการสูงในตลาดแรงงาน … พอจบ ม. ปลาย แล้วก็ลงเรียนหลักสูตรสายวิชาชีพพวกนี้ได้เลย

(ยุ้ย ตามความเข้าใจส่วนตัว คิดว่าที่ไทยเราเรียก "ปวส" หรือ "อนุปริญญา" นั่นเอง ลองหาอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรต่างๆ ได้ที่นี่ Myndigheten för yrkeshögskolan เค้าก็จะมีบอกค่ะว่า เราควรเรียนอะไรมาก่อนหน้านี้ คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเรียนได้ในแต่ละสาขาน่ะค่ะ … เห็นหลายๆ คนทำค่ะ และก็เร็วดี เรียนไม่นาน หนึ่งหรือสองปีไรงี้ และมีงานรองรับเยอะดีด้วย)


9. กระจายซีวีของคุณออกไปตามแหล่งต่างๆ
บริษัทผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่เค้าก็จะหาดูซีวีจากแหล่งข้อมูลจากหลายๆ ที่บนอินเตอร์เนต หรือจากหลายๆ เวบไซต์ เราก็หาลงทะเบียนข้อมูลส่วนตัวต่างๆ และซีวีของเราไว้ … เราก็สามารถไปลงทะเบียนและฝากข้อมูลไว้บนเวบไซต์ของอารเบียตฯ ได้ … ที่อารเบียตฯ เค้าก็จะมีช่วยในเรื่องการเขียนซีวีและจดหมายแนะนำตัวด้วย จะหาอ่านเองที่เวบไซต์ก็ได้ หรือว่าจะเดินเข้าไปพูดคุยกับผู้รู้ในออฟฟิศของสำนักงานจัดหางานโดยตรงเลยก็ได้

(ยุ้ย … บนเวบต่างๆ เค้าก็จะมีให้เรากรอกประวัติต่างๆ ของเรา แต่เราก็ควรมีซีวีที่เราทำขึ้นเอง เซฟเป็น .pdf เพื่อที่จะได้โหลดฝากไว้ที่เวบต่างๆ ด้วย เพราะว่าบางเวบเค้าให้กรอกน้อยมาก และไม่มีที่ให้กรอกพวกกิจกรรมที่เราเคยทำไรงี้ ... กิจกรรม เช่น งานสมาคม หรือ งานอดิเรกที่เราทำ นี่ก็มีส่วนช่วยให้เราได้งานทำเหมือนกันนะคะ ... ถ้าไม่อยากไปอารเบียตฯ ก็หาอ่านเรื่องการเขียนซีวีและจดหมายแนะนำตัวได้ในอินเตอร์เนตค่ะ มีเยอะแยะ บนเวบอารเบียตเองก็มี ... เคยไปอารเบียตฯ คุยเรื่องซีวีกับจดหมายนี่มาแล้ว เค้าก็เปิดของอารเบียตฯ แล้วก็แนะนำเรา แง่วววว... ทำเองที่บ้านก็ได้จ้า ... แต่ที่ยุ้ยไปเพราะว่า หลังไปรายงานตัวว่าหางานกับอารเบียตฯ เค้าพิมพ์แผนการหางานไรนี่ให้เราด้วย และระบุว่าเราควรทำอะไรบ้าง และไปในแต่ละครั้งเจ้าหน้าที่เค้าจะบันทึกลงคอมฯ ด้วย ยุ้ยก็เลยไปฟังเรื่องซีวีอย่างเซ็งๆ ค่ะ)


10. ใช้ประโยชน์จาก Socail media ต่างๆ
สมัยนี้บริษัทต่างๆ เค้าก็จะมีเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ และลิ้งค์อิน และก็มีหลายบริษัทที่ลงประกาศรับสมัครงานต่างๆ ในเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ และลิ้งค์อินของบริษัทนั่นเลย

(ยุ้ย … หลังๆ มาเห็นหลายบริษัท รวมทั้งอารเบียตฯ บนเฟสบุ๊ค นอกจากเค้าจะอัพเดทเรื่องธุรกิจเค้าแล้ว เค้าก็ยังประกาศตำแหน่งงานว่างด้วย บางบริษัทเค้าสร้างหน้าเพจเกี่ยวกับตำแหน่งงานว่างบนเฟสเลย ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ บริษัทอินเตอร์อะไรทำนองนี้

และเจอกับตัวเองว่า ก่อนที่เค้าจะเรียกเราไปสัมภาษณ์เค้าจะสแกนประวัติเราเพิ่มเติม ด้วยการค้นหาในกูเกิ้ล เพื่อดูว่าเราแอคทีฟอยู่ตรงไหนยังไงบ้าง อันนี้ได้ยินเองมาจากปากของคนที่สัมภาษณ์เรา และก็ยังได้ยินมาจากพวกบริษัทจัดหางานเอกชนที่เค้ามาบรรยายที่โรงเรียนน่ะค่ะ ถ้าเรามีโปรไฟล์ออนไลน์ที่ไหนอยู่ ก็ควรอัพเดทและกรอกข้อมูลให้สมบูรณ์ครบถ้วนค่ะ เพื่อประโยชน์ของเราเอง)


11. ส่งจดหมายขอบคุณสำหรับการสัมภาษณ์งาน
ส่งการ์ดหรืออีเมล์ไปขอบคุณสำหรับการสัมภาษณ์งาน … ถึงแม้ว่าจะไม่ได้งานนั้นๆ ทำก็ควรที่จะขอบคุณเค้าที่ให้โอกาสเราไปสัมภาษณ์ … เค้าอาจประทับใจแล้วจำคุณได้ และไม่แน่ว่าเค้าอาจจะแนะนำคุณให้คนอื่นๆ ต่อไปก็ได้

( ยุ้ย … อันนี้ควรทำค่ะ ขอบคุณในโอกาสที่ได้รับ และประสบการณ์การสัมภาษณ์งาน เพราะเราได้อะไรดีๆ จากตรงนั้นเยอะทีเดียว ได้รู้จักตัวเองมากขึ้น รู้ว่าเราต้องเตรียมตัวอะไรให้มากขึ้น เป็นต้น ... เราก็ทำวันหลังจากที่ไปสัมภาษณ์มา และอีกรอบก็ตอนที่เค้าตอบมาว่า เค้าเลือกคนอื่นไปแล้ว เราไม่ได้งานก็ขอบคุณเค้าเช่นกัน)

 

ค่ะ จบแล้ว หวังว่าคงแปลพอได้เน๊าะ แปลยากเหมือนกันนะคะเนี่ย หุหุ …

 

 

สำหรับใครที่ยังไม่เคยใช้บริการของอารเบียต ขอแนะนำลิ้งค์นี้ค่ะ

** Ny på Arbetsförmedlingen? - http://ny.arbetsformedlingen.se/

ในลิ้งค์ด้านบนนี้เป็นวีดีโอบอกขั้นตอนต่างๆ ที่เราควรทำไว้อย่างละเอียดเลยค่ะ

ถ้าใครอยากไปปรึกษาหรือพูดคุยตัวต่อตัวกับพนักงานใน ออฟฟิศของสำนักงานจัดหางานของรัฐ (อารเบียตฯ) ก็หาข้อมูล

สถานที่ตั้ง เวลาทำการ และกิจกรรมต่างๆ ได้ที่ลิ้งค์นี้

* http://www.arbetsformedlingen.se/Globalmeny/Kontakt/Hitta-din-arbetsformedling.html

ก่อนไปรายงานตัวกับอารเบียตฯ ควรลงทะเบียนข้อมูลตัวเองในลิ้งค์นี้ก่อนค่ะ

* http://www.arbetsformedlingen.se/For-arbetssokande/Min-sida/Skriv-in-dig.html

(จะได้ไม่ต้องไปนั่งทำงกๆ ที่อารเบียตฯ เครื่องคอมฯ ช้าด้วย พนักงานไม่ว่างมาช่วยเท่าไหร่ด้วยค่ะ ถ้าใครยังไม่ได้ภาษาเท่าไหร่ก็แนะว่าควรทำที่บ้านให้แฟนช่วยก่อนจะดีมาก)

....................................................................................................................................

 

อ๊ะ ขอแถมด้วยลิ้งค์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ได้พูดถึงไปด้านบนค่ะ

อ่านและดูตัวอย่างการเขียนจดหมายสมัครงานได้ที่

- personligt brev

- exempel på personligt brev

- skriver ett CV

- exempel på CV

CV ก็ไปโหลดมา แล้วก็ใช้ของเค้าได้เลย … เจ้าหน้าที่อารเบียตฯ บอกว่า ชอบอันไหนก็โหลดมาแล้วก็แก้ไขเป็นข้อมูลของเรา เขียนไม่ต้องยาวมาก ไม่ควรเกิน 2 หน้า เอสี่ ... เนื้อหาไม่แน่นหน้ากระดาษ ควรดูโปร่งๆ สบายตา

personligt brev ก็เขียนเองแต่ดูของเค้าเป็นไอเดียไปว่าเนื้อหาโดยคร่าวๆ แล้วควรมีอะไรบ้าง ควรมีระบุวันที่ ตำแหน่งที่สมัคร บริษัทที่สมัคร ประกาศรับสมัครงานอันไหนระบุรหัสงาน (Ref. nr.) มาด้วยก็ควรระบุไปใน personligt brev ด้วย ไม่ควรยาวเกิน 1 หน้าเอสี่ เนื้อหาไม่ควรแน่นหน้ากระดาษ ให้ดูโปร่งๆ สบายๆ ตาน่าอ่าน

 

เพิ่มเติม - ขอยกตัวอย่างบางส่วนของ...

บริษัทจัดหางานเอกชน

* http://www.academicwork.se/ (เหมาะสำหรับนักเรียนที่ต้องการหางานพาร์ทไทม์ทำระหว่างเรียนหรือซัมเมอร์)

* http://www.adecco.se/

* http://www.manpower.se

* http://www.studentconsulting.com/se/

* http://www.joblink.se/

* http://www.proffice.se/

* http://www.bravura.se/lediga-jobb

* http://www.bemannia.se/

 

แหล่งรวมงาน

* http://www.arbetsformedlingen.se

* http://www.monster.se/

* http://www.jobbsafari.se/

* http://www.jobbjakt.se/

* http://se.jobrapido.com/ (งานจากหลายๆ ประเทศ)

http://www.thelocal.se/jobs/ (เป็นภาษาอังกฤษ)

 

ตัวอย่างซีวีและจดหมายสมัครงาน

* http://www.cv-guiden.se/tips

* http://www.karriarguiden.se/blogg/sv/exempel-pa-personligt-brev/

* http://www.karriarguiden.se/blogg/sv/exempel-pa-cv/

* http://www.jobway.se/index.cfm/page/cv_page/article/17

 

เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน

* http://www.anstallningsintervju.se/

* http://www.karriarguiden.se/blogg/category/sv/static/tips-infor-intervju/

* http://www.karriarguiden.se/blogg/category/sv/static/anstallnings-intervju/

 

วางแแผนการเดินทางไปสัมภาษณ์งานในที่ต่างๆ

* http://reseplanerare.resrobot.se/bin/query.exe/sn

 

นี่แค่ตัวอย่างค่ะ ยังมีอีกหลายที่ ลองหาดูนะคะ ... ค่ะ ก็สามารถไปฝากซีวีไว้ได้ และไปตั้งค่าขอรับข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงานว่างผ่านอีเมล์ได้ด้วย

 


// ยุ้ย

June 2012

updated 24 mars 2013

 

 

 

<< Back

Go to top
© 2012 All rights reserved. Yui in Lund@Sweden. Thai Experiences : Diary : Swedish : Photos : Hot info : Links : Guest book
eXTReMe Tracker